เหรียญรุ่นแรก ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย พิมพ์เล็ก เนื้อทองแดง
เหรียญรุ่นแรกครูบาชุ่ม วัดวังมุย ท่านได้เมตตาออกแบบอักขระยันต์ด้านหลังเหรียญ และท่านได้ปลุกเสกเดี่ยวตลอดเจ็ดวัดเจ็ดคืนภายในวิหารวัดวังมุยก่อนที่ท่าน จะทำพิธีใหญ่ใน วันที่ 5 ธันวาคม 2517 โดยมีเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด พระเถระชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดลำพูน มาร่วมเจริญพุทธมนต์ นั่งบริกรรมตลอดคืน จนถึงตอนเช้าได้วันที่ 6 ธันวาคม 2517 ได้สวดเบิกพระเนตรและมงคลสูตร แล้วเสร็จจึงทำบุญตักบาตรถวายภัตหาร เสร็จพิธีจากนั้นคณะกรรมการจึงได้แจกจ่ายเหรียญให้ทันที
ยันต์ที่อยู่ด้านหลังเหรียญครูบาชุ่มนั้นชื่อว่า ยันต์ อิติปิโส 8 ทิศ หรือ อรหันต์8ทิศ
ยันต์นี้เป็นยันต์ที่ครูบาชุ่มท่านผูกเป็นพระยันต์ขึ้นมาเอง โดยอาศัยการนำบทพุทธมนต์ที่ศึกษามาจากธรรมมูลกัจจาย(ในสมัยก่อน ครูบาชุ่มท่านเป็นผู้คงแก่เรียนศึกษาตำราทุกอย่าง และเป็นผู้แตกฉานเรื่องคัมภีย์มูลกัจจาย อย่างเออุท่านหนึ่งเลยทีเดียว)มาตีเป็นตารางยันต์ตามหลักแม่ธาตุหัวใจยันต์ ตรงใจกลางยันต์ถอดมาได้เป็นยันต์ หัวใจพระพุทธคุณ บางตำราท่านกล่าวว่าเป็นยันต์ สิริแปดเหลี่ยม ( หรือ สิริทั้ง 8) เน้น ทางชุ่มเย็นเป็นสุขด้วยสิริทั้ง8ประการ
ล้อมด้วยพระคาถา หัวใจขึด (อุบาทว์ หรือความเชื่อที่เป็นข้อห้ามของชาวล้านนา) คาถาธรรมโลกะวุฒธิ ซึ่งเป็นต้นบทคาถาที่ใช้สวดการเทศนา คาถา หัวใจธรรมเกี่ยวกับการเกิดดับแห่งสรรพสิ่ง และคาถา หัวใจก่าสะท้อน(ท่านเพิ่งนำมาลงในยันต์ด้านหลังเหรียญนี้ครั้งแรก) ถัดขึ้นไป เขียนยันต์ที่ล้านนาที่ชื่อว่า ก๋ะ ย๊ะ ว๊ะ( ยักษ์3ตัว) ใช้สำหรับกันผี ผีกลัว ถัดไปเป็นคาถา มะ อะ อุ (หัวใจพระรัตนไตร ) ส่วนในยันต์รูปน้ำเต้านั้น ครูบาชุ่มท่านน่าจะคิดเป็นรูปแห่งพระอรหันต์ทั้งแปดทิศ ไว้บูชาสำหรับกันภัย และเพื่อคุณวิเศษต่างของพระอรหันต์เหล่านั้นที่พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงยกย่องว่า เป็น เอตทัคคะในด้านต่างๆเช่น
1.พระอัญญาโกณฑัญญะ ประจำทิศ ตะวันออก เป็นเอตทัคคะในด้าน รัตตัญญู เป็นพระสงฆ์องค์แรกแห่งพระพุทธศาสนา เด่นทางด้านเมตตามหานิยมมีความสำเร็จก่อนผู้ใด
2.พระมหากัสสปะ ประจำทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเอตทัคคะในด้าน ถือธุดงค์วัตรเป็นเอก เด่นทางด้านคุ้มภัย
3.พระสารีบุตร ประจำทิศ ใต้ เป็นอัครสาวกด้านขวาแห่งพระพุทธเจ้า เอตทัคคะเป็นผู้เลิศทางปัญญา เด่นทางด้านมีสติปัญญาแก้ปัญญา
4.พระอุบาลี ประจำทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ เอตทัคคะด้านพระวินัยเป็นเลิศ เด่นทางด้านมีสิ่งมงคลในชีวิตป็นเลิศ
5.พระอานนท์ ประจำทิศ ตะวันตก เป็นพระอุปัฎฐากของพระสัมามสัมพุทธเจ้าและเป็นพระที่พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านทรงยกย่องให้เป็นเอตทัคคะ5ประการด้วยกันคือ
1.มีสติรอบคอบ 2.มีความทรงจำแม่น 3.มีความเพียรดี 4.ผู้เป็นพหูสูตร
5.เป็นยอดพระภิกษุผู้อุปัฎฐากพระพุทธเจ้า
6.พระควัมบดี (พระมหากัจจายนะ)หรือพระสิวลีเถระ ประจำทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเอตทัคคะด้านการมีลาภสักการะเป็นเลิศ
7.พระโมคคัลลานะ ประจำทิศ เหนือ พระอัครสาวกด้านซ้ายแห่งพระพุทธเจ้าเป็นเอตทัคคะเรื่องการมีฤทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์มาก เด่นเรื่องคุ้มภัย มีตบะเดชะ
8.พระราหุล ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นบุตรแห่งองค์พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธะเจ้า เป็นเอตทัคคะ เรื่องการใฝ่รู้และการศึกษา เด่นทางด้านเจริญรุ่งเรือง
นั่นคือเรื่องของพระอรหันต์ที่เป็นเลิศด้านต่างๆ ที่โบราณคณาจารย์ท่านกำหนดไว้ในเรื่องทิศทั้ง8มาแต่อดีตกาล
ในส่วนยันต์ของครูบาชุ่มนั้นท่านจะไม่บอกอักษรใดที่แสดงชื่อของพระอรหันต์ทั้ง8 แต่จะใช้ลักษณะรูปยันต์น้ำเต้า(เหมือนพระนั่งทั้ง8ทิศ) ล้อมรอบด้วยตารางยันต์ที่กล่าวไว้ข้างต้น เพราะรูปลักษณะแห่งยันต์ของครูบาชุ่มนี้เป็นเอกลักษณ์ของครูบาชุ่มเอง โดยตรง
แม้แต่ตัวโค๊ตรูปวงกลมที่ตอกนั้นยังเป็นอักษรย่อของยันต์กันขึด คือ ว๊ะ ม๊ะ ต๊ะ (คาถาเต็มคือ ว๊ะ ม๊ะต๊ะ ก๊ะม๊ะย๊ะ) รวมไปถึงพระเนื้อผงรุ่นแรกครูบาชุ่มที่เขียนเป็นตัวล้านนาที่อ่านว่า “วิวะ อะวะสุสัตตะ วิวะสวาหะ” ไม่ใช่คาถาบูชาครูบาชุ่มอย่างที่หนังสือต่างๆพิมพ์กัน นี่คือหัวใจคาถากันภัยนะครับ ชื่อว่า คาถาพระโพธิสัตว์พาแม่ข้ามฝั่ง
ส่วนในด้านพุทธคุณโดยรวมแห่งเหรียญรุ่นแรกครูบาชุ่มนั้น มีครบทุกกระบวนความ ทั้งเรื่องมหาอุตย์ คงกระพัน เมตตา มหานิยมโชคลาภ กันภัย กันผี ก่าสะท้อน ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายคล่องกันขึด แก้อุบาทว์แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาและก็ด้วยบารมีแห่งพระรัตนะไตร ครูบาศรีวิชัยตลอดจนครูบาอาจารย์ของครูบาชุ่มทุกองค์และบารมีของครูบาชุ่ม รวมถึงการปลุกเสกแห่งพระอริยะเจ้าที่ได้ชื่อว่าเป็นดั่งมือขวาของครูบาเจ้าศรีวิชัย
ประเด็นเรื่องพุทธคณของเหรียญนี้ยังมีหลายท่านเข้าใจว่าเหรียญรุ่นแรกของครูบาชุ่ม เป็นมหาอุตย์ คงกระพันอย่างเดียว ด้วยในยุคสมัยนั้นยังมีเรื่องต่อสู้ เข้ารบสงคราม โจรผู้ร้ายยังชุกชุมอยู่ คนที่เล่ากันส่วนมากจะต้องแคล้วคลาดปลอดภัยเป็นหลักเกิดเป็นความเชื่อที่ว่า เหรียญของครูชุ่มเด่นเรื่อง มหาอุตย์ คงกระพันแคล้วคลาด ซึ่งความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่
ขอบคุณข้อมูลจาก pralanna.com
จำนวนการสร้างวัตถุมงคลประเภทเหรียญของท่าน...
เหรียญรูปไข่ใหญ่(ไม่มีหูห่วง)
- เนื้อทองคำ 30 เหรียญ
- เนื้อเงิน 999 เหรียญ
- เนื้อนวะ 999 เหรียญ
- เนื้อทองแดง 13,629 เหรียญ
เหรียญรูปไข่เล็ก(มีหูห่วง)
- เนื้อทองคำ 19 เหรียญ
- เนื้อนวะ 499 เหรียญ
- เนื้อทองแดง 1,599 เหรียญ
เหรียญกลมโภคทรัพย์
- เนื้อเงิน 277 เหรียญ
- เนื้อทองแดง 1,500 เหรียญ
...........................................................................................................................
ประวัติครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย จ.ลำพูน
ครูบาชุ่ม โพธิโก ท่านเกิด ณ.บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2442 ปีกุน โยมบิดาท่านชื่อ พ่อบุญ โยมมารดาท่านชื่อแม่ลุน นามสกุล นันตละ ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน
ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 12 ปี โดยมีครูบาอินตา วัดพระขาวลำพูนเป็นพระอุปัชฌาย์ท่านได้เล่าเรียนหนังสือกับ ท่านเจ้าอาวาสวังมุย จนอ่านออกเขียนได้ จึงได้มุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาเล่าเรียนไม่ว่าจะเป็น วัดพระสิงห์ วัดเจดีย์หลวง และสำนักต่างๆ ที่มีพระอาจารย์ เก่งๆ ประจำอยู่
เมื่ออายุม่านย่างเข้า 20 ปี ท่านได้เดินทางกลับวัดวังมุยเพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาอินตาเป็น พระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่นเป็น พระกรรมวาจาจารย์พระอาจารย์ หลวงจ้อยเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า "โพธิโก" ท่านได้ออกเดินทางไปศึกษาหาความรู้ด้านวิปัสนา กัมมัฎฐานนอกจากนั้นหลวงพ่อได้สนใจที่จะศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิชาอาคม และการพิชัยสงครามอีกด้วย ท่ายได้เดินทางไปศึกษากับครูบาสุริยะวัดท้าวบุญเรือง ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ได้ศึกษาศาสตร์สนธิทั้งแปดมรรคแปดอรรคคาถาบาลี มูลกัจจาย จนท่านสามารถแปล และผูกพระคาถาได้
เมื่อท่านศึกษาจนจบแล้ว ท่านได้ไปศึกษากับพระครูบาศรีวิชัย (คนละคนกับครูบาศรีวิชัยที่เป็นตนบุญล้านนา) วัดร้องแหย่ ต.หนองแก๋ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ผู้เป็นพระอาจารย์ทางด้านวิปัสนากัมมัฎฐาน และเป็นพระนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ท่านครูบาองค์นี้มีอายุถึง 70 ปี แต่ยังแข็งแรง มีผิวพรรณสดใสและเป็นพระผู้มีปฏิปทามากผู้หนึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดอาคมไสยเวทย์ และการฝึกกระแสจิตควบคู่กันไป
ในขณะที่ท่านอยู่ที่วัดร้องแหย่งนั้น ท่านครูบาศรีวิชัยแห่งวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ก็ได้มาเยี่ยมเยียนสัการะท่าน ครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่งเสมอ และบางครั้งท่านได้อยู่จำวัดและร่วมสวดมนต์ทำวัตรและปฎิบัติกัมมัฎฐานด้วย และเห็นว่าท่านครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปางท่านมีความเคารพนับถือท่านครูบาศรีวิชัยวัดร้องแหย่งมาก ต่อมากท่านได้ไปศึกษากับ ครูบาแสนวัดหนองหมู จ.ลำพูน เป็นเวลา 2 ปี ท่านได้เดินทางกลับวัดวังมุย
ต่อมาท่านได้ออกธุดงค์ไปยัง ต.บ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะเหรี่ยงจนมีสานุศิษย์มากมายต่อจากนั้นท่านได้เดินทางไปถึงพระบรมธาตุดอยเกิ้ง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพระธาตุเก่าแก่มีประวัติเล่าขาลกันตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ตอนนั้นพระธาตุดอยเกิ้งนั้นมีสภาพทรุดโทรมมาก ท่านจึงมีความตั้งใจที่จะบูรณะองค์พระธาตุโดยมีชาวบ้าน ชาวเขามาร่วมในการครั้งนั้นมากมาย กินเวลา 45 วัน จึงแล้วเสร็จ หลังจากนั้นท่านได้เดินทางต่อไปจนถึง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง และอยู่บูรณะวัดห้างฉัตรเป็นเวลาถึง 3 พรรษา และท่านได้สร้างสะพานต่างๆ มากมายเช่นสะพาน ต.ยุหว่า, สะพาน ต.สันทราย, สะพานป่าเดื่อ, สะพานวัดชัยชนะ ฯลฯ
ในปีพ.ศ.2478 ท่านครูบาศรีวิชัยได้สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ 37 ปี ได้เข้าร่วมในการสร้าทางท่านได้มีโอกาสรับใช้อย่างใกล้ชิด คราวท่านครูบาศรีวิชัยถูกเรียกตัวเข้ากรุงเทพหลวงพ่อได้รับหน้าที่ดูแลรักษาวัด รับแขกที่มาทำบุญแทนท่านครูบาฯ ท่านได้ร่วมบูรณะวัดวาอารามต่างๆ กับท่านครูบาศรีวิชัยมากมายขณะที่ครูบาศรีวิชัยป่วยอยู่ที่วัดจามเทวี ท่านได้ไปเฝ้าพยาบาล และท่านได้ร่วมกับครูบาธรรมชัยวัดประตูป่า ให้ช่างมาปั้นรูปเหมือนครูบาศรีวิชัยเนื้อปูนปั้นและนำไปหาท่านครูบาที่วัดจามเทวี เมื่อครูบาท่านเห็นรูปของท่านแล้ว น้ำตาได้เอ่อคลอเบ้าตาและท่านได้เอามือลูบไล้รูปเหมือนของท่าน และได้มอบพัดหางนกยูงและไม้เท้าของท่านให้ครูบาชุ่มและได้สั่งเสียว่า ให้ท่านรักษาให้ดีให้ถือปฏิบัติเหมือนตัวแทนของท่าน
...................................................................................................................